วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

ประเภทของสื่อ



ประเภทของสื่อ



             ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจำแนกสื่อได้ 4 ประเภท คือ สื่อทางหู(audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกัน(audio – visual) และสัมผัส(tactile)
ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภท และตัวอย่างที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
            1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
            2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอ งสิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่
            3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวิดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆเช่น ดิจิตอล วิดีโออินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
            4.สื่อทางสัมผัส ได้แก่วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง

            ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
            ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงของผู้ออกแบบ จำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท
            การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
            การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมพร้อมกันในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกที่สือที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird : 180 ) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง(highway) ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง(จุดประสงค์) และสื่อ(วัสดุฝึก) เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม(accessories) บนทางหลวงเช่น สัญญาณแผนที่ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
            วิธีการเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมากเป็น วิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยและวิล (Joyce and Weil,1980) เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นแบบจำลองการสอน(model of teaching) แบบจำลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปบทที่7